โปรแกรม Adobe Flash เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างสรรค์งานกราฟิก ที่ช่วยในการปรับแต่ง แก้ไข หรือออกแบบภาพ โดยทำได้ง่ายด้วยเทคนิค “ตัด เชื่อม ปรับเปลี่ยนรูปร่าง” โปรแกรม Adobe Flash มีการใช้งานโปรแกรม Adobe Flash เบื้องต้น ได้แก่ เทคนิคการวาดภาพกราฟิกส์และการ์ตูนด้วยการตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง, การสร้าง Graphic Symbol, การใช้เครื่องมือต่างๆของโปรแกรม และการสร้าง Animation ในโปรแกรม Adobe Flash ได้แก่ ภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween (แบบเคลื่อนที่), Shape Tween (แบบเปลี่ยนรูปทรง) และ Frame by Frame (แบบเฟรมต่อเฟรม)
การใช้งานโปรแกรม Adobe Flashเข้าที่โปรแกรม Adobe Flash จะปรากฏหน้าต่างของโปรแกรม

ภาพ หน้าต่างของโปรแกรม Adobe Flash
เครื่องมือโปรแกรม มีดังนี้
- แถบเครื่องมือหลัก (Main Toolbar) เป็นแถบเครื่องมือควบคุมการทำงานหลักของโปรแกรม- แถบเครื่องมือ (Toolbox) กลุ่มเครื่องมือสร้างงานและจัดการวัตถุของโปรแกรม Flash
- Document Tab คือ ส่วนควบคุมเอกสาร
- Timeline เป็นส่วนสำคัญของโปรแกรม Flash ที่ทำหน้าต่างควบคุมการนำเสนอผลงาน
- Layer ส่วนควบคุมการสร้างชั้นงาน เพื่อให้ชิ้นงานแต่ละชิ้นมีอิสระ และสะดวกต่อการแก้ไข ปรับแต่ง
- Stage & Workspace เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของหน้าต่างโปรแกรม มีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับเวทีการแสดง
- Panel หน้าต่างเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แสดงคำสั่งควบคุมย่อยต่างๆ ของโปรแกรม
การวาดภาพด้วยเทคนิคตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง
ถ้าต้องการเปลี่ยนรูปทรงของภาพสามารถใช้เทคนิค Drag & Drop เพื่อทำให้รูปทรงต่างๆเป็นเป็นรูปทรงอิสระอื่นๆ ได้ตามต้องการ
โดยเริ่มต้นจากการวาดรูปทรงพื้นฐานที่ต้องการ โดยใช้เครื่องมือ Rectangle Tool
จากนั้นใช้เครื่องมือ Selection Tool แล้วนำเมาส์ไปชี้บริเวณเส้นขอบของรูปภาพ แล้วกดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากเมาส์ตามรูปทรงที่ต้องการ
รูปจะบิดตัวตามทิศทางการลากเมาส์ ทำให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการ
ถ้าต้องการให้เพิ่มความโค้ง สามารถทำได้โดยคลิกที่บริเวณเส้นขอบของรูปแล้วลากออกมา รูปจะหดตัวตามทิศทางการลากเมาส์ ทำให้ได้รูปร่างตามที่ต้องการ
ภาพ รูปร่างที่ใช้เทคนิคตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง
ภาพ ตัวอย่างรูปการ์ตูนที่ใช้เทคนิคตัดเชื่อมปรับเปลี่ยนรูปร่าง
เริ่มต้นการสร้าง Graphics Symbol โดยเลือกคำสั่ง Insert > New Symbol…
จะปรากฏหน้าต่าง จากนั้นตั้งชื่อ Symbol ในช่อง Name และเลือกประเภทของ Symbol ซึ่งมี 3 แบบดังนี้- Graphics Symbol (ภาพนิ่ง)- Button Symbol (ปุ่มสำหรับคลิกหรือกด)- Movie Clip Symbol (ภาพเคลื่อนไหว)จากนั้นคลิกที่ปุ่ม OK
สร้าง Symbol ตามที่ต้องการจนครบทุกภาพ แล้วลาก Symbol ที่ต้องการทำภาพเคลื่อนไหวเข้ามาใน Stage
การสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation)
ภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame เป็นการวาดวัตถุที่ละเฟรมเรียงต่อไปเรื่อยๆ โดยวัตถุที่นำมาสร้างจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้
ภาพ ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Frame by Frame
ภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่กำหนดเฉพาะจุดต้นและจุดสุดท้าย

ภาพ ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Motion Tween
ภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween เป็นเทคนิคการแปลงภาพจากภาพหนึ่งเป็นอีกภาพหนึ่ง

ภาพ ตัวอย่างภาพเคลื่อนไหวแบบ Shape Tween
การใช้งานโปรแกรม Adobe Flash จำเป็นต้องใช้ทักษะและความชำนาญ เพราะขั้นตอนและเครื่องมือต่างๆค่อนข้างมาก จึงต้องศึกษาการใช้งานโปรแกรมจากคู่มือหรือหนังสือประกอบการใช้งาน เพื่อให้สามารถใช้งานโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น